http://www.bandunggrand.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Article

 Gallerry

 Webboard

 Contact Us / Map

สถิติ

เปิดเว็บ01/04/2012
อัพเดท12/05/2020
ผู้เข้าชม789,818
เปิดเพจ898,124
สินค้าทั้งหมด2

สินค้า

 ห้องเตียงเดี่ยว
 ห้องเตียงคู่

ตัวอย่างหมวดหมู่

บ้านดุงแกรนด์

มะม่วง

(อ่าน 493/ ตอบ 0)

ต้อง

มะม่วงมีสายพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ อกร่อง ตัวอย่าง เช่น เขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกหนา เหนียว ผลแก่รสมัน น้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์ที่กินผลสุก รูปร่างยาวเรียว ผลดิบเนื้อขาว รสเปรี้ยวจัด ผลสุกสีเหลืองนวล รสหวาน อกร่องทอง เป็นพันธุ์เก่าแก่ นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน ผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวที่ด้านท้อง ผลสุก เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย ฟ้าลั่น ผลกลม ท้ายแหลม ลูกขนาดกลาง นิยมรับประทานผลแก่ มีรส


สนับสนุนโดย allforbet.com


เว็ป คาสิโนออนไลน์ ที่ดีที่สุด


มัน เมื่อปอกเปลือก เนื้อมะม่วงจะปริแตก หนังกลางวัน ผลยาวคล้ายงาช้าง แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว สุกรสหวาน แก้ว นิยมกินดิบ ผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว เมื่อเกือบสุกเปลือกจะมีสีอมส้มหรืออมแดง โชคอนันต์ รูปร่างยาว ปลายมน กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า นิยมนำไปทำมะม่วงดอง มหาชนก เป็นลูกผสมของมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตจากอินเดีย ผลยาวรี สุกสีเหลืองเข้ม มีริ้วสีแดง เนื้อไม่เละ กลิ่นหอม จะสุกในช่วงที่มะม่วงพันธุ์อื่นวายแล้ว การใช้ประโยชน์ มะม่วงดิบ คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) พลังงาน 250 kJ (60 kcal) คาร์โบไฮเดรต 15 g น้ำตาล 13.7 g ใยอาหาร 1.6 g ไขมัน 0.38 g โปรตีน 0.82 g วิตามิน วิตามินเอ บีตา-แคโรทีน (7%)54 μg (6%)640 μg ไทอามีน (บี1) (3%)0.03 มก. ไรโบเฟลวิน (บี2) (3%)0.04 มก. ไนอาซิน (บี3) (4%)0.67 มก. กรดแพนโทเทนิก (บี5 ) (4%)0.2 มก. วิตามินบี6 (9%)0.12 มก. โฟเลต (บี9) (11%)43 μg วิตามินซี (43%)36 มก. แร่ธาตุ แคลเซียม (1%)11 มก. เหล็ก (1%)0.16 มก. แมกนีเซียม (3%)10 มก. ฟอสฟอรัส (2%)14 มก. โพแทสเซียม (4%)168 มก. สังกะสี (1%)0.09 มก. หน่วย μg = ไมโครกรัม ● mg = มิลลิกรัม IU = หน่วยสากล ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้นแบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย นิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำ นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยว ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น ชาวกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว


Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view